ชื่อและถิ่นกำเนิดของมะขามป้อม

สำหรับคนไทย บรรพชนได้นำหลายๆ ส่วนของ "มะขามป้อม"มาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านอาทิ นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค เป็นน้ำผลไม้แก้กระหาย เป็นขนมหวานรสอร่อยปัจจุบันนี้ "มะขามป้อม" ยังคงทำหน้าที่ของไม้ผลยืนต้นที่ให้ร่มเงาและความชุ่มชื้น รวมถึงเป็นอาหารและยารักษาสรรพโรคให้กับมวลมนุษย์มาทำความรู้จักมะขามป้อม  "แบบเจาะลึกกันดีกว่า"                       

ชื่อของมะขามป้อม



        ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica  Linn.
        ชื่อวงศ์  :  Euphorbiaceae
         ชื่อสกุลไม้มะขามป้อม  Phyllanthus L.
         ชื่อสามัญ  Emuc  myrabolam, Malacca tree
         ชื่อพื้นเมือง : มะขามป้อม(ทั่วไป)
     กันโตด(เขมร-กาญจนบุรี)
     กำทวด(ราชบุรี)มั่งลู่,สันยาส่า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  


              ถิ่นกำเนิดของมะขามป้อม

                  มะขามป้อมเป็นพืชท้องถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอย่างกว้างขวางตั้งแต่บริเวณประเทศ เนปาล อินเดีย ศรีลังกา มาจนถึงประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และขึ้นไปจนถึงประเทศจีนตอนใต้ นอกจากนี้ยังมีการปลูกเป็นการค้าในประเทศจีน อินเดีย,มอริเซียส หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ญี่ปุ่นและมาดากัสการ์ คำว่า “emblica” อาจจะมาจากคำว่า “amlah” ในภาษาเปอร์เซียหรือคำว่า “ambaliji” ในภาษาอาริบิก ตามธรรมชาติจะพบมะขามป้อมบริเวณป่าเบญจพรรณแล้ว ป่าละเมาะหรือตามป่าชุมชน(Villagegrove)เป็นพืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสงคือ ดอกดอกเมื่อมีความยาวช่วงวัน (day length) 12 ถึง 13.5 ชั่วโมง สามารถพบมะขามป้อมตามธรรมชาติได้ในบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงพื้นที่สูงถึง 1,500 เมตร มะขามป้อมจัดเป็นพืชเขตกึ่งร้อน (subtropical)มากกว่าที่จะเป็นพืชเขตร้อนไม่ค่อยพบต้นมะขามป้อมที่โตเต็มที่ตามธรรมชาติซึ่งอาจเนื่องจากการเป็นไม้ยืนต้นที่เจริญเติบโตช้า และยังถูกตัดต้นไปใช้ประโยชน์อยู่เสมอ            

                      

แหล่งที่มา : http://www.doctor.or.th/article/detail/1901

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น