การใช้ประโยชน์

   


          ในอดีตมีการใช้มะขามป้อมเพื่อย้อมเสื่อ เครื่องจักรสาน ไม้ไผ่ ไหม และขนสัตว์ที่ต้องการย้อมให้เป็นสีน้ำตาล แต่ถ้าผสมกับเกลือของเหล็ก(iron salts)จะได้สีน้ำตาลและสีดำ แต่ถ้าย้อมเสื่อด้วยการต้มเปลือกมะขามป้อมจะได้สีดำ นอกจากนี้ยังใช้ทำพืชอาหารสัตว์และทำปุ๋ยพืชสดได้ ผลใช้เป็นส่วนผสมในหมึกดำและใช้เป็นยาย้อมผมในประเทศอินเดีย ประเทศไทยใช้ผลดิบ เปลือก และใบ ในกิจกรรมการฟอกย้อม โดยมักผสมกับสารฟอกย้อมจากพืชอื่น เช่น สมอไทย หรือสมอนา ( chebulic myrobalan,Terminalia chebula Retz.)และสมอพิเภก(beleric myrobalan,Terminalia belerica(Gaertn.)Roxb.)สีย้อมจากผลใช้ย้อมไหมและขนสัตว์จะให้สีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลเหลือง น้ำมันจากผลมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูสภาพผม ใช้ย้อมผม จึงเป็นส่วนผสมในแชมพูเพื่อปรับสภาพผม เนื้อไม้มักจะมีลักษณะบิดโค้งงอและมีความยืดหยุ่นสามารถทำเฟอร์นิเจอร์ ทำเครื่องมือต่างๆ ได้โดยเฉพาะ มีความทนทานได้ดีเมื่อแช่น้ำนานๆ ใช้ทำฟืนและเผาทำถ่านไม้ได้คุณภาพดี เปลือกของกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร จะมีแทนนินมากและคุฯณภาพดี สามารถตัดแต่งกิ่งมาใช้ประโยชน์ได้ทุก 2 ปี เพราะมีการแตกกิ่งสร้างทรงพุ่มได้เร็ว ดังนั้นเปลือกของกิ่งมะขามป้อมจะต้องนำมาตากแดดให้แห้งอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นการรักษาปริมาณแทนนิน การใช้ประโยชน์ทางยาของผลมะขามป้อมจะต้องนำผลมาแล้วทำให้แห้งเสียก่อน ส่วนการเก็บผลเพื่อสกัดแทนนินก็จะต้องเก็บเมื่อผลยังดิบ ทำการแยกเมล็ดออก แล้วนำเนื้อมาตากแห้ง และบดให้ละเอียดก่อนเข้ากระบวนการสกัดสาร การทำเปลือกให้แห้งอย่างรวดเร็วจะช่วยรักษาปริมาณแทนนินไว้ได้มาก จึงมีการแนะนำให้ลอกเปลือกและตากแดดให้แห้งทันทีที่เก็บกิ่งมา
            โดยทั่วไปไม่นิยมรับประทานผลสดเพราะมีรสชาติที่เปรี้ยวและฝาด การบริโภคมะขามป้อมจึงนิยมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก่อนเช่น ทำแยม เยลลี น้ำผลไม้ แช่อิ่มหรือดองเกลือ เราสามารถลดความฝาดของผลมะขามป้อมได้โดยการแช่ผลในน้ำเกลือประมาณ 2-3 วัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น